ขั้นตอนการทำสี ในแต่ละประเภทของงาน Painting Process
ขั้นตอนการทำสี ( Painting Process ) ของเรานั้น เพื่อให้ได้ประสิทธิผล มากที่สุด เราจำเป็นต้องมีการกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ของ การทำสี ให้ถูกต้อง เหมาะสม และ เป็นไปตามมาตรฐาน ของการทำสี เพื่อ .. ให้ได้ผลงาน หลังการทำสี ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุด ทั้งนี้ ขั้นตอนการทำสี อาจแบ่ง ขั้นตอนการทำสี ออกไปตาม ความต้องการของงานแต่ละประเภท หรือ ให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ ของเรา ซึ่งทั้งนี้ มีขั้นตอนการทำสี ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการทำสี ( Painting Process )
1. การทำความสะอาดชิ้นงานก่อนการทำสี ( Cleaning )
การทำความสะอาดชิ้นงาน ก่อนการทำสี ก็เพื่อเป็นการขจัดสิ่งแปลกปลอม สิ่งสกปรก ได้แก่ เศษฝุ่น คราบน้ำมัน คราบ จารบี ไขมัน คราบกาว รอยนิ้วมือ ฯลฯ อันเป็นตัวสร้างปัญหา ทำให้งานทำสีของเรา มีประสิทธิภาพที่ด้อยลง ดังนั้นจึงเป็น ขั้นตอนที่ขาดไม่ได้เลยเชียว
2. การเตรียมพื้นผิวก่อนการทำสี ( Surface Preparation )
หลังจากการทำความสะอาดเบื้องต้นมาแล้ว ผิวชิ้นงานเรา บางส่วนอาจถูกขจัด สิ่งสกปรก ออกไม่หมด เช่นคราบสนิม ตะกรัน เกล็ดผิวของการรีด งานหล่อ หากเราทำสีทับไป ผลกระทบ คือ เกิดการยึดเกาะ ของสี กับ ตัวผิวงาน ก็จะไม่ดีพอ ผลที่ได้ออกมา ก็จะเกิดปัญหา ต่าง ๆ ได้แก่ สีหลุดร่อน ได้ง่าย นอกจากนั้นการเตรียมผิวงาน ยังมีระดับของการ สร้างผิว หรือ ทำผิวขรุขระ เหมาะสม ที่จะทำให้สี มีการยึดเกาะที่ดีกว่าการทำความแบบธรรมดา ทั่วไป ( ดูรายละเอียด การเตรียมผิว เพิ่มได้ที่นี่ )
3. การทำสีรองพื้น ( Primer )
การทำสีรองพื้น เพื่อทำสร้างฟิมล์การยึดเกาะระหว่างผิวงานกับผิวสี ที่เราจะทำการเคลือบลงไป ประโยชน์ที่จะได้รับจาก การทำสีรองพื้น คือ ป้องกันการเกิดสนิม สร้างเนื้อสี ให้มีความหนาเพียงพอต่อความแข็งแรง ของสีด้วย ส่วนความหนาที่เหมาะสม เท่าไรนั้น เราต้องดูจากคู่มือ หรือ ข้อกำหนดของ ผู้ผลิตสี นั้น ๆ
4. การทำสีชั้นกลาง ( Intermediate / Under Coat )
การทำสีขั้นกลาง เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นและสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่ม ความหนาของฟิล์มสี ลดปริมาณการใช้สีทับหน้าและช่วยให้สีทับหน้า เรียบเนียนสวยงาม ในบางกรณี ที่เราต้องการให้การทำสี มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราก็จำเป็นต้องทำสี ในชั้นที่ 2 และ 3 โดยทั้งนี้ ก็ดังที่ได้กล่าวไว้ ตามวัตถุประสงค์ ของงานที่เราจะนำไปใช้ โดยศึกษาได้จากคู่มือ หรือ ขั้นตอนการทำสี ของบริษัทสี นั้น ๆ
5. การทำสีทับหน้า ( Top Coat / Color Coat )
การทำสีชั้นสุดท้าย ก็เพื่อสร้างฟิมล์ เพื่อทำการปกป้อง ชิ้นงาน กับสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และสีที่เราทำไว้ก่อนนี้ ให้มีความคงทนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสี ทับหน้า ชั้นสุดท้ายนี้ ยังเป็นการทำสี ตามเฉดสี ที่เราต้องการ อีกด้วย
6. สีทับหน้าประเภทใส ( Clear Coat )
สีชั้นนี้ จะเป็นสีใสๆ ใช้เคลือบบนผิว สีชั้นสุดท้าย เพื่อปกป้องผิวสี ให้ทนทานและแข็งแรงขึ้น ด้วยความใส ทำให้ยังคงเห็นเฉดสี เดิมได้